เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าพลิกตะแคงข้างสำคัญกับผู้ป่วยติดเตียงอย่างไร?

Last updated: 17 ม.ค. 2566  |  512 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าพลิกตะแคงข้างสำคัญกับผู้ป่วยติดเตียงอย่างไร?

ทำความรู้จักกับ 3 ข้อสำคัญของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าพลิกตะแคงข้าง


     การดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะมีหลายปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวังนอกเหนือไปจากโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ ด้วยเหตุนี้การจะดูแลผู้ป่วยคนหนึ่งให้ดีที่สุด จึงไม่เพียงต้องทุ่มเทเวลาและแรงกายเท่านั้น แต่แรงใจก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน หากผู้ดูแลไม่มีสิ่งใดมาช่วยผ่อนแรงเลย อาจจะเกิดอาการเครียดสะสมตามมา จนป่วยเพิ่มอีกคนก็เป็นได้เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ผู้ดูแลคนป่วยทุกท่านควรมองหาอุปกรณ์ดีๆ มาช่วยเหลือ ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่จะขาดไปไม่ได้ก็คือเตียงผู้ป่วยนั่นเอง

หากท่านใดกำลังหาข้อมูลเรื่องเตียงผู้ป่วยอยู่ แต่ยังไม่ได้ปักธงในใจว่าจะเลือกเตียงแบบไหน หรือรุ่นอะไร บทความนี้ขอทำหน้าที่เป็นไกด์นำทาง พาทุก     ท่านมาทำความรู้จักกับเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าพลิกตะแคงข้าง เครื่องมือดีๆ ที่สามารถช่วยแบ่งเบาภาระและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของคุณกับคนที่คุณรักให้ดีขึ้นได้

 

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าพลิกตะแคงข้างสำคัญต่อการดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างไร?


     หลายท่านอาจจะเคยทราบกันบ้างแล้วว่า การใช้เตียงผู้ป่วยไฟฟ้านั้นดีต่อผู้ป่วยติดเตียงมากกว่าเตียงธรรมดา ในแง่ของการเคลื่อนย้ายเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน แต่ความจริงแล้วยังมีความสำคัญอีก 3 ข้อที่ควรทราบไว้ก่อนเลือกซื้อ ตามมาอ่านกันเลย!

  1. เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าพลิกตะแคงข้าง ช่วยให้การพลิกตัวผู้ป่วยง่ายขึ้น ป้องกันแผลกดทับ สิ่งสำคัญในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง คือการเฝ้าระวังไม่ให้เกิดแผลกดทับ เพราะจะเป็นการเพิ่มความเจ็บปวดให้กับผู้ป่วย และทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้ ยกตัวอย่างเช่น การเกิดอาการเนื้อเน่าแบบมีก๊าซ (Gas Gangrene) ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการบวมและเจ็บแผลอย่างรุนแรง การเกิดอาการเนื้อเน่า หรือโรคแบคทีเรียกินเนื้อคน หรือที่ร้ายแรงที่สุดอาจถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือดจนเสียชีวิตได้

    โดยสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดปัญหาแผลกดทับ คือการนอนในท่าเดิมนานๆ จนผิวหนังบริเวณนั้นขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง ส่งผลให้เซลล์ผิวหนังตาย มักเกิดในบริเวณผิวหนังที่เป็นปุ่มกระดูก อย่างบริเวณท้ายทอย สะบัก สะโพก และข้อศอก เป็นต้น ซึ่งวิธีป้องกันคือการเปลี่ยนท่านอน หรือพยายามให้คนไข้ปรับเปลี่ยนท่าทางทุก 2 ชั่วโมง เพื่อถ่ายเทน้ำหนักไม่ให้รวมกันที่จุดเดียว แน่นอนว่าขั้นตอนนี้ผู้ป่วยติดเตียงย่อมไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ผู้ดูแลจึงต้องคอยมายกและพลิกตัวผู้ป่วยบ่อยๆ หากทำแบบนี้ไปนานๆ ผู้ดูแลก็อาจจะเกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรืออาการเจ็บป่วยเรื้อรังด้านอื่นๆ ตามมา

    ซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ หากเลือกใช้เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าแบบ 3 ไกร์ขึ้นไป เนื่องจากเตียงประเภทนี้สามารถช่วยพลิกตะแคงผู้ป่วยได้ง่ายๆ ด้วยการช่วยเหลือจากระบบของเตียง โดยยิ่งไกร์มากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งปรับได้หลายส่วนมากขึ้นเท่านั้น โดยวิธีการปรับเตียงก็ง่ายมาก เพียงกดสั่งการรีโมตให้ยกส่วนหัวเตียงขึ้น ก็สามารถพลิกตะแคงผู้ป่วยได้ง่ายและรวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องออกแรงยกให้ปวดหลังเลย ดังนั้นเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าจึงสามารถช่วยป้องกันแผลกดทับ และช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแลได้ด้วยนั่นเอง

  2. เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าพลิกตะแคงข้าง ช่วยลดภาวะกลืนลำบาก ทำให้ทานอาหารได้ง่ายขึ้น อีกหนึ่งปัญหาสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดในสมอง หรือภาวะสมองเสื่อม คือการมีภาวะกลืนลำบาก ทำให้เสี่ยงต่อการสำลักอาหารได้ ซึ่งถ้าเกิดการสำลักขึ้นมา นอกจากจะทำให้เศษอาหารเข้าไปในปอดจนเกิดการติดเชื้ออื่นๆ เพิ่มเติมได้แล้ว หากไปอุดค้างที่หลอดลม ก็จะทำให้ขาดอากาศหายใจตายได้

    ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากต้องทานอาหาร จึงควรปรับให้อยู่ในท่านั่งที่เหมาะสม และไม่ควรป้อนอาหารขณะอยู่ในท่านอนราบโดยเด็ดขาด โดยเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าสามารถปรับท่าทางผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่เหมาะสมได้ง่ายมาก เพียงกดรีโมตและปรับส่วนหัวเตียงขึ้นมาประมาณ 45 – 90 องศา ผู้ป่วยก็จะอยู่ในท่าที่เหมาะสม พร้อมทานอาหารได้แล้ว

  3. เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าพลิกตะแคงข้าง ช่วยให้ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ดูแลมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นได้ นอกจากความเจ็บป่วยทางกาย สิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยติดเตียงมีอาการทรุดลงหรือดีขึ้นได้ คือกำลังใจ จากแต่เดิมเคยเป็นคนปกติ แข็งแรงดี สามารถเดินไปไหนมาไหนเอง หรือสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องมานอนอยู่บนเตียงนิ่งๆ และทรมานกับความเจ็บป่วย สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่ผู้ป่วยจะก้าวข้ามไปได้เพียงลำพัง

    และนอกจากผู้ป่วยจะเจ็บปวดแล้ว ญาติ หรือผู้ดูแลเองก็มีความเครียดไม่ต่างกัน เพราะเป็นคนที่ต้องแบกรับภาระทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการดูแลผู้ป่วย การทำงานหาเงิน การดูแลบ้าน และการรองรับอารมณ์เศร้าหมองของคนที่ตัวเองรัก จึงมีโอกาสสูงมากที่ผู้ดูแลจะเครียดหนักตามไปด้วย ซึ่งเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าพลิกตะแคงข้างสามารถช่วยบรรเทาความรู้สึกเหล่านี้ลงได้ ไม่ว่าจะเป็นการทุ่นแรง และการช่วยให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง โดยผู้ดูแลอาจคิดกิจกรรมบางอย่างที่ทำร่วมกับผู้ป่วยได้ เช่น เวลาทานข้าว อาจให้ผู้ป่วยกดปรับระดับเตียงด้วยตัวเอง นอกจากนี้เตียงผู้ป่วยยังสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ผู้ดูแลอาจหารือกับผู้ป่วยกันเอาไว้ว่า หลังจากทานข้าวเสร็จแล้ว จะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปบริเวณชานบ้าน หรือบริเวณที่อากาศเปิดโล่ง เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ และพาผู้ป่วยมารับสายลมกับแสงแดดด้านนอกบ้าน ให้รู้สึกสดชื่นขึ้นมาบ้าง เป็นต้น

    กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น และไม่จ่มจ่อมอยู่กับความทุกข์คนเดียวนานเกินไป ส่วนผู้ดูแลเองก็จะได้มีช่วงเวลาที่ผ่อนคลายได้บ้างอีกด้วย

 

     ทั้งหมดนี้คือ 3 ความสำคัญหลักๆ ที่เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าพลิกตะแคงสามารถช่วยเหลือในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงได้ หากท่านใดอ่านแล้วรู้สึกสนใจ ทาง Adler Drive ยินดีจัดจำหน่ายเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าคุณภาพสูง มีใบรับรองมาตรฐานอย่างครบครัน พร้อมรับประกันความทนทาน และบริการศูนย์ซ่อมตลอดอายุการใช้งาน สามารถติดต่อสอบถามได้ตลอดเวลา

 

 
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Email : sale.adlerdrive@gmail.com
Tel :  061-712-3773
Line: https://page.line.me/adlerdrive

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้